วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9
      การจัดห้องเรียน


1.  ห้องเรียนจะต้องสะอาด  ดูแล้วสบายตา  น่าเรียน
2.  แสงสว่างเพียงพอต่อการทำกิจกรรม  มีแสงแดดส่องเหมาะสม ไม่รบกวนสายตาขณะปฏิบัติกิจกรรม
3.  ทุกจุดของห้องควรให้มองเห็นได้โดยรอบ
4.  บริเวณห้องเรียนต้องให้ปลอดภัยจากสัตว์ แมลง พืช และสารเคมีที่มีพิษ
5.  ควรจัดให้มีมุมแสดงผลงานและมุมเสริมทักษะในห้องเรียน
6.  วัสดุ  อุปกรณ์ควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยจัดให้อยู่มุมใดมุมหนึ่งของห้อ




กิจกรรมที่ 8
       ครูในอุดมคติ


ถ่ายทอดวิชาการอย่างเต็มที่  ครูต้องทำให้ลูกศิษย์เรียนรู้ด้วยความสุข เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ และเกิดความมานะพยายามที่จะรู้ในศาสตร์นั้นๆ ครูจึงต้องตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะศึกษาหาความรู้ ทางศาสตร์ที่จะสอน และถ่ายทอดความรู้ในศาสตร์นั้นๆ ให้กับนักเรียนโดยไม่ปิดบังความรู้
รักและเข้าใจศิษย์  ครูต้องพยายามทำ ให้ลูกศิษย์รักและไว้ใจเพื่อที่จะได้กล้า ปรึกษาในสิ่งต่างๆแล้วครูก็จะสามารถช่วยให้ศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการใช้ชีวิตในสังคมได้
มีความยุติธรรม  อาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องฝึกฝนตนเองให้เป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรม ไม่มีอคติลำเอียงต่อลูกศิษย์ ไม่เห็นว่าคนที่มีปัญหาเป็น คนน่ารังเกียจ หรือพอใจแต่เฉพาะศิษย์ที่เรียนเก่ง ไม่สร้างปัญหาเท่านั้น ครูต้อง มีความเป็นธรรมในการให้คะแนน และพร้อมที่จะอธิบายวิธีการให้คะแนน และการตัดเกรดได้ ครูต้องรอบคอบในการกรอกคะแนน เพราะถ้าผิดพลาดแล้ว บางครั้งก็จะทำให้ผู้เรียนที่ควรได้คะแนนดีๆ กลับได้คะแนนเกือบจะสอบตกไป ซึ่งอาจสร้างความไม่พอใจแก่ผู้ปกครองได้
เป็นแบบอย่างที่ดี  ครูมีอิทธิพลต่อศิษย์ทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพ และความประพฤติ ครูจึงจะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ซึมซับสิ่งที่ครูทำ เมื่อศิษย์เกิดศรัทธาในความสามารถของครู ศิษย์อาจจะเลียนแบบความประพฤติของครูไปอย่างไม่ได้เจตนา เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดงความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมา สุภาพเรียบร้อย เป็นต้น
ให้เกียรติผู้เรียน  การยกย่องให้เกียรติผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจ และเกรงใจผู้สอน ครูไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด เช่น พูดจาข่มขู่ใช้คาพูดไม่สุภาพ เปลี่ยนชื่อผู้เรียน เยาะหยันหรือดูถูกผู้เรียน การเคารพ ผู้เรียนในฐานะปัจเจกบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้ที่ดีเมื่อ ผู้เรียนได้รับการปฏิบัติอย่างดี ย่อมก่อให้เกิดพลังในการศึกษา
ช่วยเหลือศิษย์  ผู้เรียนมาอยู่ในสถานศึกษาพร้อมด้วย ประสบการณ์และปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องสังเกตความผิดปกติหรือข้อบกพร่องของศิษย์ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ศิษย์ต้องก้าวถลาลึกลงไปในพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
ครูต้นแบบที่ดีควรมีลักษณะเป็นดังบทประพันธ์ดังนี้
ครูจะต้องเป็นครูทุกขณะจิต              ต้องรู้โลกรู้ชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง
ต้องมีปฏิภาณโวหารแสดง                ต้องเป็นแหล่งก้าวหน้าวิชาการ
ต้องสอนคนมากกว่าสอนหนังสือ     ไม่เพียงถือชอล์กปากกาพาเขียนอ่าน
ต้องอุทิศชีวิตจิตวิญญาณ                    ให้เก่งงานปลูกฝังในทางดี
ครูเป็นที่รักเคารพและยกย่อง             ครูจะต้องตระหนักในศักดิ์ศรี
มีหลักการเหตุผลกลวิธี                       ครูต้องมีความอดทนสร้างผลงาน
ครูต้องมีความดีและความเก่ง             ครูต้องเคร่งจริยะมาตรฐาน
เป็นประทีปเจิดจรัสชัชวาล                ส่องนาจิตวิญญาณของปวงชน

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
บทความที่ 1
   1.  ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        การสอนแนะให้คิดเป็นการจัดการเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ซึ่งการสอนโดยการแนะให้รู้เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนวทางเท่านั้น  ผู้เรียนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด  มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม ซึ่งกล่าวว่า  การเรียนรู้ของผู้เรียนต้องเกิดจากตัวผู้เรียนเอง โดยมีหลักการว่า  นักเรียนควรรู้อะไร  จะพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์อย่างไร  และจะจัดกิจกรรมอะไร  การสอนแนะให้รู้คิดในคณิตศาสตร์มีขั้นตอนขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ด้งนี้  เสนอปัญหา  ทำความเข้าใจปัญหา  แก้ปัญหา  และอภิปราย  การสอนแนะให้รู้คิดผู้สอนคณิตศาสตร์ต้องมีความรู้ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างดีและจะต้องเข้าใจความคิดของผู้เรียนในการแก้ปัญหาต่างๆ ส่วนบรรยากาศในชั้นเรียน  ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยผู้สอนจะต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อนำไปประเมินผลต่อไป
 2.  ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
       จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของตนเองออกมาอย่างเต็มที่ และส่งเสริมหู้เรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  มีทักษะในการคิด  การให้เหตุผล  และมีทักษะเชื่อมโยง  โดยให้ผู้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

3.  ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไ
      มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น  และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบานการคิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  มีการถามตอบระหว่างการจัดการเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นของต้นเองออกมา  และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
 บทความที่ 2
1.   ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นครูของแผ่นดิน  ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพระองค์ทรงสอนให้คนไทยรู้จักและเข้าใจดิน น้ำ ลม ไฟ  สอนให้รู้จักการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น  ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนทำได้เลย  พระองค์ทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่างจากห้องเรียนจริง และเรื่องที่พระองค์ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ  เรื่องการเกษตร  และยังมีเรื่องอื่นๆ รวมทั้งเรื่องการศึกษา  ดังที่พระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญ  การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักทุกอย่างเป็นเพราะต้องการที่จะเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  ในเรื่องที่พระองค์ไม่รู้พระองค์ก็จะต้องทำให้รู้ให้ได้ เพื่อที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนในประเทศของพระองค์
2.    ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
        ถ้าเป็นครูดิฉันก็จะเป็นครูที่ใฝ่เรียนรู้เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสวงหาความรู้อยู่เสมอ  ดิฉันจะถ่ายทอดความรู้ที่ได้ให้กับนักเรียนโดยไม่กักความรู้  และจะทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน  เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติตาม  ดิฉันจะสอนให้นักเรียนเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้ เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.     ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไ
จะจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง  ได้คิดหาวิธีการแก้ปัญหา  ได้ลองผิดลองถูกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง    และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมที่  7

             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ เรื่อง  และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้
1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
              เรื่องการหา ห.ร.ม. ในชีวิตประจำวัน   ผู้สอน ครูธัญรัศน์  ประเสริฐศรี   โรงเรียนกันทรารมณ์  จังหวัดศรีสะเกษ
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
              เนื้อหาที่ใช้สอนจะเกี่ยวกับเรื่องการหารลงตัว  การหาตัวประกอบ ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา   ครูจัดให้นักเรียนนั่งกันเป็นกลุ่ม  แล้วให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมารับภาพมังคุด  ดาว  และส้ม  หลังจากนั้นครูก็ให้นักเรียนแบ่งภาพต่างๆ  ออกเป็นกลุ่มตามที่ครูบอก  เมื่อนักเรียนทำได้ตามที่ครูบอกครูก็จะให้นักเรียนแบ่งภาพกันเองโดยมีเงื่อนไขว่าแต่ละกองต้องเท่ากัน  การแบ่งภาพแต่ละกองให้เท่ากันแต่ละกลุ่มอาจจะได้คำตอบไม่เหมือนกันซึ่งเรื่องนี้จะทำให้นักเรียนรู้เรื่องการหาตัวประกอบ  และการหาตัวประกอบร่วม  เมื่อนักเรียนหาตัวประกอบเป็นนักเรียนก็จะรู้ว่า ห.ร.ม.  คือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุด หลังจากนั้นครูก็ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นการบริจาคของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อให้นักเรียนจำจวนของแต่ละชนิดใส่ถุง ซึ่งก็คือการหา  ห.ร.ม.  ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์  ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีการพูดคุยกับซักถามผู้เรียนอยู่เสมอ  และเมื่อผู้เรียนตอบครูก็ให้เพื่อนในห้องตบมือให้เพื่อน
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม   ครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำและปลูกฝังความรับผิดชอบในการทำงานให้กับนักเรียน 
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
             บรรยากาศในการจัดห้องเรียนมีการจัดห้องเรียนอย่างสะอาด   มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย     โต๊ะ เก้าอี้   มีการจัดอย่างเป็นระเบียบโดยจัดเป็นกลุ่ม  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูน่าสนใจ  และตามฝาผนังห้องเรียนมีการจัดแต่งโดยการติดข้อความที่ให้ความรู้แก่นักเรียน

กิจกรรมที่ 6

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 5


ชื่อ
นายวรสรวง   สุทธิสวรรค์
ตำแหน่งปัจจุบัน
ครูชำนาญการพิเศษ  คศ.3
สถานที่ทำงาน
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก )  ตำบลมะลิกา  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
ที่อยู่ปัจจุบัน
บ้านเลขที่  279  หมู่  7  ตำบลแม่อาย  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่  50280
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
บ้าน   053-459270   โรงเรียน  053-459008  มือถือ  081-9510399
วันเดือนปีเกิด
12  มีนาคม  2516
คู่สมรส 
นางจารุณี  สุทธิสวรรค์    ครูชำนาญการพิเศษ  คศ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12
 ( บ้านเอก ) 
บุตร-ธิดา
1. เด็กหญิงนาฏนฤตย์   สุทธิสวรรค์
2. เด็กชายธนกฤต  สุทธิสวรรค์

ประวัติการศึกษา

ประถมศึกษา
โรงเรียนรังษีวิทยา  อำเภอฝาง    จังหวัดเชียงใหม่  ( 2527 )
มัธยมศึกษาตอนต้น
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่   สาขานาฏศิลป์ไทย วิชาเอกโขน  ( 2530 )
มัธยมศึกษาตอนปลาย
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่   สาขานาฏศิลป์ไทย  วิชาเอกโขน  ( 2533 )
อนุปริญญา
( ปม.ช ) วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่   สาขานาฏศิลป์ไทย  วิชาเอกโขน  ( 2535 )
ปริญญาตรี 
( ศษ.บ )   คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สาขาวิชาประถมศึกษา  ( 2537 )
ปริญญาโท
( ศษ.ม )  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชาเทคโนโลยี
ทางการศึกษา  ( 2541) 

ประวัติการรับราชการ

25  มิ.ย. 2539
อาจารย์  1  ระดับ 3
โรงเรียนบ้านห่างหลวง   อำเภออมก๋อย  จังหวัด เชียงใหม่
29  มิ.ย. 2541
อาจารย์  1  ระดับ 4
โรงเรียนชุมชนบ้านคาย  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
1  ต.ค. 2543
อาจารย์  1  ระดับ 5
โรงเรียนชุมชนบ้านคาย  อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
1  มี.ค. 2544
อาจารย์  1  ระดับ  5
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย
 จังหวัดเชียงใหม่ 
1  ต.ค. 2546
อาจารย์  2  ระดับ  6
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย 
 จังหวัดเชียงใหม่
ต.ค. 2547
อาจารย์  2  ระดับ  7
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย 
 จังหวัดเชียงใหม่ 
24 ธ.ค. 2547
ครู  ระดับ  คศ.2
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย 
 จังหวัดเชียงใหม่ 
ก.พ. 2549
ครูชำนาญการ คศ.2
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย
 จังหวัดเชียงใหม่
19  พ.ย. 2552
ครูชำนาญการพิเศษ คศ.3
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 12 ( บ้านเอก ) อำเภอแม่อาย 
 จังหวัดเชียงใหม่


วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 4
สรุป เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การทำงานเป็นทีม  จะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร  และมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว  แต่การสร้างทีมงานนั้นต้องใช้ เวลา ในการพัฒนาบุคคล  และพัฒนาทีมงานพอสมควร จึงจะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
1. วิเคราะห์งาน
2. กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3. วางแผนการทำงาน
4. แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
5. ปฏิบัติจริงตามแผน
6. ติดตามผลและนิเทศงาน
7. ประเมินขั้นสุดท้าย
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน  เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา  สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน  ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์  ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา  มีการพัฒนาตนเอง  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน  และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
     การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
     แรงจูงใจของมนุษย์
                 ธรรมชาติของมนุษย์
2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
                 การที่จะทำให้ทีมมีประสิทธิภาพจะต้องรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี และสมาชิกต้องทุ่มเทกำลังกาย ความคิด  เพื่องานจะได้ประสบความสำเร็จ  และทุกคนจะต้องตระหนักเสมอว่างานที่ที่สำเร็จนั้นเป็นผลงานของทีม ไม่ใช่ผลงานของคนใดคนหนึ่ง

กิจกรรมที่ 3 
1.   การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21  เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ในยุคศตวรรษที่ 21  เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง  การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน  และจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้   การศึกษาจะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น ทำให้มนุษย์ในยุคนี้ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  ถ้าคนใดจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย
ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ในยุคนี้การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร ในยุคนี้ มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว
2.   ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษ
ในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในเรื่องต่างให้มากขึ้น นอกจากความรู้ในศาสตร์ของตนเองเพื่อที่จะได้พัฒนาการสอนให้ดีขึ้น  เพราะโลกของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมเสมอ  เพื่อที่จะได้เป็นครูที่ดี  

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 

1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) 
Douglas Mc Gregor :  ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
 William Ouchi : ทฤษฎี Z
                  เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน  ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล   ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิต
อังริ ฟาโยล (HENRI FAYOL) 
                มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการมีการจัดแบ่งงาน  การมีอำนาจหน้าที่ ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา  เอกภาพในทิศทาง ผลประโยชน์ของหมู่คณะ มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ระบบการรวมศูนย์  สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง การริเริ่มสร้างสรรค์  และวิญญาณแห่งหมู่คณะ
MAX WEBER
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า BUREAUCRACY เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น สรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
LUTHER GULICK 
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะ รู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน) 
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่ 
นโยบายขององค์กร  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน  สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน  ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ  การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง  ความรับผิดชอบ  ความก้าวหน้าในงาน  การเจริญเติบโต
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก



หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา 

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน การบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ และการบริหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทำงาน การบริหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง
ความหมายของการบริหาร
            การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การบริหารจะเกดขึ้นได้เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำงาน
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหาร
            การบริหารในยุคแรกๆ จะเป็นการบริหารที่เน้นพฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าและต่อมา ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาสู้การบริหารที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
เมื่อมีโรงเรียนก็ต้องมีงานบริหารการศึกษาเกิดขึ้น  นั่นก็คือจะต้องมีผู้ที่เข้ามาบริหารงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ซึ่งงานบริหารการศึกษาจะเน้นหนักไปที่บุคลากร และการปฏิบัติงาน บุคลากร ได้แก่  ผู้บริหาร  ครู  อาจารย์  นักเรียน  ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  เรื่อง คือ  
1.การจัดระบบสังคม 
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์  ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี  4  ระบบ
-     ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
-     ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-     ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
-    ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการ
การจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร  หมายถึง  การติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูล  การติดต่อสื่อสารจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และทำลายความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงาน
                การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน นอกจากจะมีความจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์แล้วยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก เพราะองค์การนับวันจะมีโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ลักษณะประจำตัวผู้นำ คือ  มีลักษณะเฉพาะตัว มีความรู้ความสามารถ  มีความตั้งใจสูง  มีความรับผิดชอบ  มีความเป็นธรรม  มีใจกว้าง  มานะทางสังคม  มีศิลปะในการนำ  
การที่จะเป็นผู้นำนั้นจะต้องทำงานด้วยความเต็มใจ ทำตามหน้าที่ของผู้นำได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน ไม่ทำงานขัดแย้งกัน  เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การ
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงาน จะต้องอยู่ในขอบข่ายเรื่องต่อไปนี้ คือ นโยบาย ใจสมาชิก แผนงาน งานที่รับผิดชอบ คนในองค์การและทรัพยากร
หลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสารที่ดี ความร่วมมือที่ดี การประสานงานที่ดีและจัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน สุดท้ายต้องจัดให้มีการป้อนงานในรูปแบบที่ครบวงจร
การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีโครงสร้างของการบริหารที่ชัดเจน มีแผนภูมิแสดงการบังคับบัญชา มีการเขียนนโยบาย ข้อบังคับ มีเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความรู้สูง  มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ เป็นการกระทำโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายขององค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
ประโยชน์ที่ได้จากการตัดสินใจ มีดังนี้ ทำให้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์ เกดการประสานงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการพัฒนาตนและพัฒนางาน และก่อให้เกิดความสงสุขในองค์การ
โทษของการตัดสินใจ ถ้าการตัดสินใจเกิดผิดพลาดอาจทำให้องค์การล้มเหลว ดังนั้นผู้บริหารงานจะต้องรอบคอบในการตัดสินใจ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมาย
2.การบริหารบุคคล คือ  การจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุดและให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่สถานศึกษา  และในขณะเดียวกันคนที่ที่เราใช้งานต้องมีความสุข
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ