วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 

1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) 
Douglas Mc Gregor :  ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
 William Ouchi : ทฤษฎี Z
                  เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน  ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล   ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิต
อังริ ฟาโยล (HENRI FAYOL) 
                มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการมีการจัดแบ่งงาน  การมีอำนาจหน้าที่ ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา  เอกภาพในทิศทาง ผลประโยชน์ของหมู่คณะ มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ระบบการรวมศูนย์  สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง การริเริ่มสร้างสรรค์  และวิญญาณแห่งหมู่คณะ
MAX WEBER
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า BUREAUCRACY เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น สรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
LUTHER GULICK 
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะ รู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน) 
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่ 
นโยบายขององค์กร  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน  สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน  ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ  การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง  ความรับผิดชอบ  ความก้าวหน้าในงาน  การเจริญเติบโต
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก



หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา 

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน การบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ และการบริหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทำงาน การบริหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง
ความหมายของการบริหาร
            การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การบริหารจะเกดขึ้นได้เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำงาน
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหาร
            การบริหารในยุคแรกๆ จะเป็นการบริหารที่เน้นพฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าและต่อมา ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาสู้การบริหารที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
เมื่อมีโรงเรียนก็ต้องมีงานบริหารการศึกษาเกิดขึ้น  นั่นก็คือจะต้องมีผู้ที่เข้ามาบริหารงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ซึ่งงานบริหารการศึกษาจะเน้นหนักไปที่บุคลากร และการปฏิบัติงาน บุคลากร ได้แก่  ผู้บริหาร  ครู  อาจารย์  นักเรียน  ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  เรื่อง คือ  
1.การจัดระบบสังคม 
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์  ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี  4  ระบบ
-     ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
-     ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-     ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
-    ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการ
การจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร  หมายถึง  การติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูล  การติดต่อสื่อสารจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และทำลายความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงาน
                การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน นอกจากจะมีความจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์แล้วยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก เพราะองค์การนับวันจะมีโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ลักษณะประจำตัวผู้นำ คือ  มีลักษณะเฉพาะตัว มีความรู้ความสามารถ  มีความตั้งใจสูง  มีความรับผิดชอบ  มีความเป็นธรรม  มีใจกว้าง  มานะทางสังคม  มีศิลปะในการนำ  
การที่จะเป็นผู้นำนั้นจะต้องทำงานด้วยความเต็มใจ ทำตามหน้าที่ของผู้นำได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน ไม่ทำงานขัดแย้งกัน  เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การ
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงาน จะต้องอยู่ในขอบข่ายเรื่องต่อไปนี้ คือ นโยบาย ใจสมาชิก แผนงาน งานที่รับผิดชอบ คนในองค์การและทรัพยากร
หลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสารที่ดี ความร่วมมือที่ดี การประสานงานที่ดีและจัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน สุดท้ายต้องจัดให้มีการป้อนงานในรูปแบบที่ครบวงจร
การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีโครงสร้างของการบริหารที่ชัดเจน มีแผนภูมิแสดงการบังคับบัญชา มีการเขียนนโยบาย ข้อบังคับ มีเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความรู้สูง  มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ เป็นการกระทำโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายขององค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
ประโยชน์ที่ได้จากการตัดสินใจ มีดังนี้ ทำให้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์ เกดการประสานงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการพัฒนาตนและพัฒนางาน และก่อให้เกิดความสงสุขในองค์การ
โทษของการตัดสินใจ ถ้าการตัดสินใจเกิดผิดพลาดอาจทำให้องค์การล้มเหลว ดังนั้นผู้บริหารงานจะต้องรอบคอบในการตัดสินใจ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมาย
2.การบริหารบุคคล คือ  การจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุดและให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่สถานศึกษา  และในขณะเดียวกันคนที่ที่เราใช้งานต้องมีความสุข
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น