วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 

1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) 
Douglas Mc Gregor :  ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
 William Ouchi : ทฤษฎี Z
                  เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน  ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล   ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิต
อังริ ฟาโยล (HENRI FAYOL) 
                มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการมีการจัดแบ่งงาน  การมีอำนาจหน้าที่ ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา  เอกภาพในทิศทาง ผลประโยชน์ของหมู่คณะ มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ระบบการรวมศูนย์  สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง การริเริ่มสร้างสรรค์  และวิญญาณแห่งหมู่คณะ
MAX WEBER
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า BUREAUCRACY เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น สรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
LUTHER GULICK 
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะ รู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน) 
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่ 
นโยบายขององค์กร  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน  สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน  ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ  การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง  ความรับผิดชอบ  ความก้าวหน้าในงาน  การเจริญเติบโต
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก



หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา 

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน การบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ และการบริหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทำงาน การบริหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง
ความหมายของการบริหาร
            การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การบริหารจะเกดขึ้นได้เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำงาน
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหาร
            การบริหารในยุคแรกๆ จะเป็นการบริหารที่เน้นพฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าและต่อมา ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาสู้การบริหารที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
เมื่อมีโรงเรียนก็ต้องมีงานบริหารการศึกษาเกิดขึ้น  นั่นก็คือจะต้องมีผู้ที่เข้ามาบริหารงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  ซึ่งงานบริหารการศึกษาจะเน้นหนักไปที่บุคลากร และการปฏิบัติงาน บุคลากร ได้แก่  ผู้บริหาร  ครู  อาจารย์  นักเรียน  ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารการศึกษา
บทที่  4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์  ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร  เรื่อง คือ  
1.การจัดระบบสังคม 
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน  และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ
บทที่  5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์  ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี  4  ระบบ
-     ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
-     ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-     ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
-    ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการ
การจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร  หมายถึง  การติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูล  การติดต่อสื่อสารจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และทำลายความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงาน
                การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน นอกจากจะมีความจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์แล้วยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก เพราะองค์การนับวันจะมีโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ลักษณะประจำตัวผู้นำ คือ  มีลักษณะเฉพาะตัว มีความรู้ความสามารถ  มีความตั้งใจสูง  มีความรับผิดชอบ  มีความเป็นธรรม  มีใจกว้าง  มานะทางสังคม  มีศิลปะในการนำ  
การที่จะเป็นผู้นำนั้นจะต้องทำงานด้วยความเต็มใจ ทำตามหน้าที่ของผู้นำได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน ไม่ทำงานขัดแย้งกัน  เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การ
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงาน จะต้องอยู่ในขอบข่ายเรื่องต่อไปนี้ คือ นโยบาย ใจสมาชิก แผนงาน งานที่รับผิดชอบ คนในองค์การและทรัพยากร
หลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสารที่ดี ความร่วมมือที่ดี การประสานงานที่ดีและจัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน สุดท้ายต้องจัดให้มีการป้อนงานในรูปแบบที่ครบวงจร
การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีโครงสร้างของการบริหารที่ชัดเจน มีแผนภูมิแสดงการบังคับบัญชา มีการเขียนนโยบาย ข้อบังคับ มีเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความรู้สูง  มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ เป็นการกระทำโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายขององค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
ประโยชน์ที่ได้จากการตัดสินใจ มีดังนี้ ทำให้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์ เกดการประสานงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการพัฒนาตนและพัฒนางาน และก่อให้เกิดความสงสุขในองค์การ
โทษของการตัดสินใจ ถ้าการตัดสินใจเกิดผิดพลาดอาจทำให้องค์การล้มเหลว ดังนั้นผู้บริหารงานจะต้องรอบคอบในการตัดสินใจ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมาย
2.การบริหารบุคคล คือ  การจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุดและให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่สถานศึกษา  และในขณะเดียวกันคนที่ที่เราใช้งานต้องมีความสุข
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ



วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

        การบริหาร  หมายถึง  การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมกันทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อ     ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้  

        การศึกษา  หมายถึง  การจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกมาในด้านต่าง ทั้งด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

          การบริหารการศึกษา  หมายถึง  กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคน ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ในด้านต่างๆ  เช่น  ร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  รวมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย  เพื่อให้บุคคลของชาติได้พัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน

ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอืนๆ โดยวิเคราะห์ จากทฤษฎี 4 Ps
1.Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)
การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกําไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ไม่หวังผลกําไรเป็นตัวเงิน
2.People (บุคคล)
            2.1 ผู้ให้บริการ ในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์ผู้ อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมต้องเป็นบุคคลทีมีคุณภาพ เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน
2.2 ผู้รับบริการ  ในการบริหารการศึกษา ส่วนมากเป็นผู้ เยาว์ หรือเด็กทีต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลทีมีคุณภาพต่อไป
3.Process (กรรมวิธีในการดําเนินงาน)
การบริหารการศึกษา มีกรรมวิธีทีละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพทีหลากหลาย และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสินเชิง
4.Product (ผลผลิต)
ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา คือได้คนทีมีคุณภาพซึ่งเป็นนามธรรม คือ เมือเด็กเข้าโรงเรียนแล้วสําเร็จการศึกษาออกไป จะได้เด็กทีมีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ และเป็นคนดี
ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ งานบริหารการศึกษา
1. งานวิชาการ
2. งานบุคคล
3. งานกิจการนักเรียน
4. งานการเงิน
5. งานอาคารสถานที
6. งานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
7. งานธุรการ



วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว


  ชื่อ         : นางสาวสุจิรักษ์  มานพพันธ์    

  ชื่อเล่น   : แป็ก   

  วันเกิด   :วันเสาร์ที่ 21  ธันวาคม  พ.ศ. 2534

  ที่อยู่       : 64  หมู่ที่   ตำบลหูล่อง  อำเภอปากพนัง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  
  สีที่ชอบ  :สีฟ้า
  การศึกษา
         ระดับอนุบาล         : อนุบาลแพทย์กิจพิททยา
         ระดับประถม         :โรงเรียนวัดสองพี่น้อง
         ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น        : โรงเรียนสตรีปากพนัง
         ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย    : โรงเรียนสตรีปากพนัง
         กำลังศึกษาอยู่      : ระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  คณะครุศาสตร์   สาขาวิชาคณิตศาสตร์  ปี 3
 ปรัชญา/อุดมการณ์ในการดำเนินชีวิต
             ความสุขถ้าแบ่งปันกันจะเพิ่มเป็นสองเท่า  แต่ความทุกข์ถ้าแบ่งปันกันจะลดลงครึ่งนึ่ง
  งานอดิเรกที่ชอบทำ       : ฟังเพลง  และอ่านหนังสือ
  ความสามารถพิเศษ       : ถักนิตติ้ง