ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร หมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ร่วมกันทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อ
ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การศึกษา
หมายถึง การจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนแสดงออกมาในด้านต่าง
ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ
ที่บุคคลหลายคน ร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ในด้านต่างๆ เช่น
ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
รวมทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย เพื่อให้บุคคลของชาติได้พัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริหารอืนๆ
โดยวิเคราะห์ จากทฤษฎี 4
Ps
1.Purpose (ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์)
การบริหารราชการแผ่นดินมีความมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
การบริหารธุรกิจมีความมุ่งหมายเพื่อต้องการกําไรเป็นตัวเงิน แต่การบริหารการศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
ไม่หวังผลกําไรเป็นตัวเงิน
2.People (บุคคล)
2.1 ผู้ให้บริการ
ในการบริหารการศึกษา คือ ครู อาจารย์ผู้ อำนวยการโรงเรียน อธิการบดี ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมต้องเป็นบุคคลทีมีคุณภาพ
เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และเป็นตัวอย่างแก่นักเรียน
2.2
ผู้รับบริการ ในการบริหารการศึกษา
ส่วนมากเป็นผู้ เยาว์ หรือเด็กทีต้องพัฒนาให้เป็นบุคคลทีมีคุณภาพต่อไป
3.Process (กรรมวิธีในการดําเนินงาน)
การบริหารการศึกษา
มีกรรมวิธีทีละเอียดอ่อน มีกรรมวิธีในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพทีหลากหลาย
และแตกต่างกับกรรมวิธีของการบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารธุรกิจอย่างสินเชิง
4.Product (ผลผลิต)
ผลผลิตทางการบริหารการศึกษา
คือได้คนทีมีคุณภาพซึ่งเป็นนามธรรม คือ เมือเด็กเข้าโรงเรียนแล้วสําเร็จการศึกษาออกไป
จะได้เด็กทีมีความรู้ มีความคิด มีความสามารถ และเป็นคนดี
ภารกิจทางการบริหารการศึกษา หรือ
งานบริหารการศึกษา
1. งานวิชาการ
2. งานบุคคล
3. งานกิจการนักเรียน
4. งานการเงิน
5. งานอาคารสถานที
6. งานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
7. งานธุรการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น